วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

3. อุปกรณ์เครื่องมือในการทำขนมห่อหมก
3.1 รังถึง ใช้สำหรับนึ่งขนมเทียน ถ้าไม่มีใช้หวดนึ่งข้าวแทน
3.2 กระทะทอง ใช้กวนไส้ขนม (สำหรับทำไส้หวาน)
3.3 ชุดถ้วยตวง ช้อนตวง อุปกรณ์การตวงสำหรับตวงปริมาณวัตถุดิบให้ได้มาตรฐาน
3.4 มือแมว หรือ คันชัก สำหรับใช้ขูดมะพร้าวให้เป็นเส้นๆ
3.5 เตาแก๊ส สำหรับหุงต้ม
3.6 ชามผสม ใช้ใส่วัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ
3.7 ถาด สำหรับใส่วัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ
3.8 ครีมคีบขนม ใช้หยิบหรือจับขนม
3.9 มีดและเขียง ใช้หั่นและสับอาหาร
3.10 ครก/ไม้ตีพริก ใช้โขลกส่วนผสม
3.11 ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนมห่อหมก นิยมใช้ใบตองจากกล้วยน้ำว้า เพราะเนื้อใบตองจะนุ่ม อ่อน ห่อง่าย ไม่ฉีกหรือแตก
4. เทคนิคและวิธีการทำขนมห่อหมก
เทคนิคการทำขนมห่อหมก
1. การนวดแป้งต้องใส่น้ำเชื่อมและสีทีละน้อยๆ นวดให้นานจนเนียน และปั้นไม่ติดมือ และหมักแป้งทิ้งไว้
2. แป้งที่นวดแล้วใช้ผ้าขาวบางคลุมไว้ เพื่อไมให้แป้งแห้ง
3. การเลือกวัตถุดิบต้องใหม่และสด ไม่มีกลิ่นสาบ
4. การนึ่งใช้ไฟปานกลาง นึ่งประมาณ 20-25 นาที
เทคนิคการห่อขนมห่อหมก
1. การห่อขนมห่อหมกแบบพับชายสอด หรือห่อทรงปิรามิด
2. การห่อขนมห่อหมกแบบไม่พับชายสอดหรือห่อแบบนมสาว การห่อแบบนมสาวไม่มีใช้ไม้กลัด ห่อเสร็จแล้วให้เรียงลงในลังถึง ไม่ควรเคลื่อนย้ายขนมเพราะใบตองจะคลายตัวออกมา ควรนำไปนึ่งเลย
3. การห่อขนมห่อหมกต้องใช้ใบตอง 2ชั้น ถ้าใช้ใบตองชั้นเดียวจะทำให้ขนมห่อหมกที่นึ่งสุกแล้วเสียรูปทรงได้
การเก็บรักษาขนมห่อหมก
ขนมห่อหมกที่นึ่งสุกแล้วปล่อยให้เย็น เก็บใส่กล่องพลาสติกเข้าตู้เย็น ช่องแช่เย็น สามารถเก็บได้นานถึง 30-40 วัน ก่อนจะนำมารับประทานนำไปอุ่นให้ร้อนก่อน จะได้ขนมเทียน ที่มีรสชาติเหมือนเดิม

ลักษณะขนมห่อหมกที่ดี
1. แป้งขนมห่อหมกนุ่มเหนียว แม้จะปล่อยให้ขนมห่อหมกเย็นแล้ว
2. ขนมห่อหมกไส้เค็ม จะมีความหอมจากรากผักชี กระเทียม พริกไทย
3. ขนมห่อหมกไส้หวาน จะมีความหอมจากกลิ่นเทียนอบ

4. การนำสีจากวัสดุธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมขนมห่อหมก จะช่วยเพิ่มให้ขนมมีความแปลกใหม่ และเด่นสะดุดตา ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น